ขั้นตอนวิธี (Algorithm)
ขั้นตอน คือ กระบวนการทำงาน
ขั้นตอนวิธี คือ วิธีการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบ มีลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ สามารถเขียนได้หลายแบบ การเลือกใช้ต้องเลือกใช้ขั้นตอนวิธีที่เหมาะสม กระชับและรัดกุม
คุณสมบัติ มีดังนี้
1. มีความถูกต้อง
2. ใช้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด
3. สั้น กระชับ มีเฉพาะขั้นตอนที่จำเป็นเท่านั้น
4. ใช้หน่วยความจำน้อยที่สุด
5. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
6. ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยที่สุด
7. ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ตัวอย่างสัญลักษณ์
ภาษาขั้นตอนวิธี (Algorithm Language) เป็นภาษาสำหรับเขียนขั้นตอนวิธี มีรูปแบบที่สั้น กระชับและรัดกุมและมีข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
1. ตัวแปรจะต้องเขียนแทนด้วยตัวอักษร หรือตัวอักษรผสมตัวเลข
2. การกำหนดค่าให้ตัวแปร ใช้เครื่องหมาย
3. นิพจน์ที่เป็นการคำนวณจะมีลำดับขั้นของการคำนวณตามลำดับ คือวงเล็บ, ยกกำลัง , คูณหรือหาร, บวกหรือลบเครื่องหมายระดับความสำคัญเท่ากัน คำนวณจากซ้ายไปขวา
นิพจน์ที่เป็นตรรกศาสตร์ จะใช้เครื่องหมายในการเปรียบเทียบ คือ
= เท่ากับ #ไม่เท่ากับ < น้อยกว่า > มากกว่า ≤ น้อยกว่าหรือเท่ากับ ≥ มากกว่าหรือเท่ากับ
4. ข้อความไปยังขั้นตอน ใช้รูปแบบ คือ goto เลขที่ขั้นตอน
5. การเลือกทำตามเงื่อนไข จะต้องตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทำงาน มีรูปแบบดังนี้
- แบบทางเลือกเดียว ใช้รูปแบบ คือ
if (condition) then statement 1
- แบบสองทางเลือก ใช้รูปแบบ คือ
if (condition) then statement 1
else statement 2
6. การทำงานแบบซ้ำ
- แบบทดสอบเงื่อนไขที่ต้นวงรอบ มีรูปแบบ ดังนี้
while (condition) do
statement
- แบบทำซ้ำด้วยจำนวนครั้งของการทำซ้ำคงที่ มีรูปแบบ
for a=b to n by c do
statement
7. คำอธิบาย เป็นข้อความที่อธิบายรายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน จะอยู่ในเครื่องหมาย / และ /
คำถาม ทำไมการเขียนผังงานจึงต้องมีการเขียนภาษาขั้นตอนวิธีและภาษาเขียน
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สรุปบทเรียนวิชา โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี ครั้งที่ 1 วันที 14 มิถุนายน 2554
โครงสร้างข้อมูล ( Data Structure )
เนื้้อหา
1. ความหมายของโครงสร้างข้อมูล
2. ประเภทของโครงสร้างข้อมูล
3. การจัดสรรหน่วยความจำหลัก
4. ขั้นตอนวิธี
Introduction
1. ความหมาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ข้อมูล ( Data ) คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นตัวเลขหรือไม่ก็ได้
โครงสร้าง ( Structure ) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
ดังนั้น โครงสร้างข้อมูล ( Data Structure ) คือ ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่ในโครงสร้าง รวมทั้งกระบวนการในการจัดการข้อมูลในโครงสร้าง เช่น การ เพิ่ม แก้ไข ลบ เป็นต้น
2. ประเภทของโครงสร้างข้อมูล ปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภท
โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ
ข้อมูลเบื้องต้น
จำนวนเต็ม
จำนวนจริง
ตัวอักขระ
ข้อมูลโครงสร้าง
แถวลำดับ
ระเบียบนข้อมูล
แฟ้มข้อมูล
โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ
โครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น
ลิสต์
แสตก
คิว
สตริง
โครงสร้างข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น
ทรี
กราฟ
คำถาม ปัจจุบันโครงสร้างข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ และ โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ จึงต้องการทราบว่า โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละประเภทมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)